การดึงหน้าผาก
เหมาะสำหรับผู้ที่หัวคิ้วย่น,มีรอยย่นบนหน้าผาก หางตาตก ยิ้มมีรอยตีนกา และคิ้วต่ำลงมาใกล้ตาหรือบังตาจนรบกวนการมองเห็น โดยปกติที่หน้าผากเราจะมีกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง ทำหน้าที่ย่นหน้าผาก เลิกคิ้ว หรือขมวดคิ้ว ดังนั้นผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวนานๆ เข้าก็เกิดเป็นริ้วรอยดังกล่าว
การดึงหน้าผากจะช่วยลดริ้วรอยดังกล่าว ช่วยให้ใบหน้าส่วนบนอ่อนเยาว์ขึ้น การดึงหน้าผากจะใช้สำหรับลดรอยย่นบนหน้าผากและหัวคิ้วจะน้อยลง คิ้วที่เคยตก เปลือกตาที่เคยหลุบจะถูกยก แต่การดึงหน้าผาก ช่วยแก้เรื่องถุงใต้ตา เปลือกตาบวมหนา และตีนกาไม่ได้
- โดยทั่วไปผู้ชายมักมีคิ้วหนากว่าผู้หญิง บางคนจะมีคิ้วระดับต่ำ การที่ธรรมชาติของผู้ชายมีต่ำอยู่แล้วการดึงหน้าผาก จึงไม่ควรดึงลงมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้ผิดธรรมชาติ และมีลักษณะเลิกคิ้วตลอดเวลา
- การดึงหน้าผากลงแผลเหนือไรผมจะทำให้หน้าผากกว้างขึ้นและดูเหมือศีรษะล้านมากขึ้น อาจลงแผลในไรผม ตรงที่ศีรษะเริ่มล้านแล้ว และในกรณีที่ศีรษะล้านอยู่แล้วแผลจึงอยู่ที่ไรผม
- หน้าผากอาจจะเห็นได้ชัดเจน ถึงแม้จะเปิดแผลแบบส่องกล้องก็ตาม ในคนที่ปลูกผมมาแล้วการผ่าตัดควรทำใต้ตำแหน่งที่ปลูกผม เพื่อไม่ติดกราฟของรากผมที่ติดไว้
เทคนิคการผ่าตัด
เทคนิคที่ 1
การดึงหน้าผากโดยการผ่าตัดแบบปกติ (Coronal Foreheadlift) อาจทำโดยฉีดยาชาหรือวางยาสลบได้ โดยการผ่าตัดทำให้มีแผลรอบศีรษะเหนือใบหูด้านซ้ายจนถึงด้านขวา โดยทั่วไปอาจทำได้ 2 วิธี คือ
1.1 แบบที่แผลที่หลังต่อแนวไรผม ซึ่งจะซ่อนแผลเป็นได้ดี แต่จะทำให้หน้าผากกว้างขึ้น จึงอาจไม่เหมาะกับคนที่มีหน้าผากสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะในผู้ชายที่เริ่มมีศีรษะล้าน
1.2 แบบที่แผลอยู่ที่ไรผม (Hair Line) เหมาะสำหรับผู้ที่มีหน้าผากสูงอยู่แล้ว
เทคนิคที่ 2
การดึงหน้าผากโดยใช้กล้อง (Endoscopic forhead lift, or Endoscopic brow lift) เป็นการดึงหน้าผากโดยใช้กล้องส่อง วิธีนี้มีข้อดีคือ มีแผลเป็นน้อยกว่าเทคนิคที่ 1 โดยทั่วไป แผลเป็นจะมี 5 – 6 แผลเล็กๆ แยกจากกัน ทำให้แผลเป็นเห็นชัดน้อยกว่าเทคนิคที่ 1
นอกจากนั้นแล้วยังมีปัญหาเรื่องความเจ็บปวดน้อยกว่าเทคนิคแรก แต่เนื่องจากเป็นวิธีที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ทำให้การผ่าตัดต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่าเทคนิคที่ 1 และไม่สามารถใช้กับผู้ที่มีคิ้วตกมากๆได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- งดยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
- สมุนไพรบางชนิดเช่นอีฟนิ่งพริมโรส ยาวิตามินอีปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพรบางชนิด ก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 3 – 5 วัน
- สำหรับผู้ที่จะวางยาสลบต้องงดน้ำ งดอาหาร ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- สระผมตอนเช้าก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ผู้ที่มีความดันสูงต้องควบคุมให้ปกติก่อนผ่าตัด 2 อาทิตย์
- เตรียมงดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด 1 – 2 อาทิตย์
- เตรียมตัวหยุดงานประมาณ 5 – 7 วัน
- ควรพาเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด และควรเตรียมคนที่จะขับรถพากลับบ้านหลังผ่าตัด
- ถ้ามีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจบางชนิด ต้องการยาต้านเกล็ดเลือด เช่น ยา aspirin ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนผ่าตัด
- ผู้ที่กินยา Cumadin เพื่อป้องกันภาวะการแข็งตัวของเส้นเลือดดำที่ขาหรือในผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวและหยุดยาก่อนมารับการผ่าตัด
- เครื่องประดับที่เป็นโลหะควรถอดเก็บไว้ที่บ้าน เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากไม่สามารถใส่ระหว่างผ่าตัดได้
ขั้นตอนผ่าตัด
- ฉีดยาชาหรือวางยาสลบ
- ใช้มีดกรีดหลังต่อแนวไรผม แล้วเลาะใต้ชั้นผิวหนังและกล้ามเนื้อตลอดหน้าผาก
- ตัดกล้ามเนื้อใต้ผิวหนังออกไปบางส่วน เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อไม่ให้เกิดริ้วรอยได้อีก
- ดึงผิวหนังให้ตึง ตัดผิวหนังส่วนเกินแล้วเย็บปิดแผล
- ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 2 ชั่วโมง
- หลังผ่าตัดจะมองไม่เห็นรอยแผล เนื่องจากบาดแผลจะอยู่ในผมเหนือหน้าผากตามรอยคาดผม
การดูแลหลังการผ่าตัด
- วันแรกหลังการผ่าตัด แพทย์จะเอาสายระบายน้ำเหลืองออกพร้อมกับเปิดแผลที่ศีรษะ
- ประคบเย็นที่หน้าผาก วันละ 4 ครั้ง เพื่อลดอาการบวม ประมาณ 7 – 10 วัน
- นอนยกศีรษะสูง (หนุนหมอน 2 ใบ) เพื่อลดอาการบวม
- ผ้าตาข่ายที่พันบริเวณหน้าผากนั้นปิดไว้เพียง 1 วัน เช้าวันรุ่งขึ้นแพทย์จะตัดหรือแกะออก จากนั้นสระผมได้โดยเกาอย่างเบามือ เพื่อล้างคราบเลือดออก ซับแล้วเป่าผมให้แห้ง สามารถสระผมได้ทุกวันตามปกติ
- 7 วันหลังทำการผ่าตัด ให้มาคลายไหมที่ศีรษะเพื่อลดอาการตึง
- 14 วันหลังทำการผ่าตัด ให้มาตัดไหมทั้งหมดออก พร้อมทั้งพบแพทย์เพื่อตรวจแผล
- หลังจากตัดไหมแล้ว ใช้ “Vitamin E” ทานวดที่แผล (หลังหู, ท้ายทอย) เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนแข็ง (ทานวดประมาณ 3 เดือน) วันละ 2 ครั้ง ทุก ๆ วัน
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด หากเกิดอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นแดง, คัน, คลื่นไส้อาเจียน, แน่นหน้าอก ให้มาพบแพทย์ทันทีหรือโทรปรึกษาได้ที่สาย Hot line
- ในวันที่ 1 – 3 หลังผ่าตัด จะมีอาการบวมที่หน้าผาก
ในวันที่ 3 – 7 อาการบวมจะอยู่ที่รอบดวงตาและใต้ตา บางครั้งอาจมีอาการเขียวช้ำที่บริเวณแก้มและรอบดวงตา ถ้ามีรอยเขียวช้ำ อาจประคบน้ำอุ่นบ่อยๆ จะช่วยให้อาการเขียวช้ำหายไป
หมายเหตุ
- ล้างหน้า, สระผมได้ตามปกติ (1 เดือนหลังทำผ่าตัดสามารถทำสีผมได้)
- 2 อาทิตย์หลังทำผ่าตัดนั้น หากที่บริเวณแผลมีรอยเขียวช้ำ สามารถ
- ประคบน้ำร้อนได้ วันละประมาณ 2 ครั้ง (รอยฟกช้ำนั้นสามารถหายได้ตามธรรมชาติ)
- หลังผ่าตัดแล้ว หากพบไหมยังหลงเหลืออยู่ ให้ดึงหรือตัดออกเองได้
- รับประทานอาหาร, โดนแสงแดด, ออกกำลังกายได้ตามปกติิ
- บริเวณหนังศีรษะอาจชาได้ ประมาณ 4 เดือน
- อาการบวมและรอยช้ำ จะหายไปภายใน 10 -14 วัน คุณสามารถลดอาการบวมได้ด้วยการนอนหนุ นหมอนสูง และการประคบเย็น ขอบตาจะดำคล้ำชั่วคราว
- หลังผ่าตัดสามารถแต่งหน้าได้ภายใน 3 – 5 วัน
- พบเจอผู้คนได้ภายใน 7 – 14 วันและต้องแต่งหน้าช่วย
- จะมีอาการชาที่กลางกระหม่อมเป็นการชั่วคราว แต่จะเป็นเฉพาะผู้ที่ผ่าตัดดึงหน้าผากด้วยวิธี Coronal เท่านั้น