แก้ไขการโค้งงอของอวัยวะเพศชาย

การโค้งงอผิดปกติของอวัยวะเพศอาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดภายหลัง สามารถเกิดที่ตำแหน่งใดก็ได้ของลำอวัยวะเพศโดยอาจมีการโค้งงอขึ้นบน,ลง ล่าง,ในทางซ้ายหรือทางขวา การโค้งงอลงล่างเป็นภาระที่เกิดตั้งแต่กำเนิดได้น้อย เนื่องมากจากการที่มีพังพืดใต้อวัยวะเพศ[CORDEE] การงอโค้งด้านข้าง มักเกิดจากที่ส่วนของท่อในอวัยวะเพศที่ทำหน้าที่แข็งตัวข้างซ้ายและข้างขวา มีความยาวที่แตกต่างกันภาวะการโค้งงอผิดรูปจะเห็นเมื่อเวลามีการแข็งตัว ของอวัยวะเพศไม่เห็นในภาวะปกติ

โดยทั่วไปในอวัยวะเพศชาย จะประกอบด้วยท่อกระบอก 3 ท่อ ท่อด้านบน 2 ท่อทำหน้าที่ในการแข็งตัวเพื่อการสอดใส่ระหว่างท่อด้านบน 2 ท่อมีท่อด้านล่าง [ท่อที่ 3] ซึ่งทำหน้าที่หุ้มรอบท่อปัสสาวะ และเป็นทางเดินของน้ำอสุจิและตัวอสุจิ

เวลามีความรู้สึกหรืออารมณ์ทางเพศ เลือดจะเข้าไปในทั้งด้านบนท่อสองเหมือนการเป่าลูกโป่งที่เป็นลูกโป่งยาวจะทำ ให้ส่วนอวัยวะเพศทั้งหมดแข็งตัวขึ้นถ้ามีท่อด้านใดสั้นกว่าหรือมีแผลเป็น บริเวณท่อเหล่านี้ทำให้ขยายตัวไม่ได้ก็จะมีการงอในทางด้านนั้นๆภาวะที่มีการ โค้งงอผิดปกติอาจจะแบ่งได้ตามสาเหตุคือ

คลินิกศัลยกรรมสำหรับผู้ชาย - Clinic For Men
  1. เป็นตั้งแต่กำเนิด,อาจงอในทิศทางขึ้นบนลงล่าง หรือด้านข้าง ถ้าการโค้งงอเกิดเล็กน้อยถือว่าไม่ผิดปกติไม่ต้องทำการแก้ไขเพราะตามปกติ แล้วอวัยวะเพศจะมีการเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่งเล็กน้อยได้แต่ถ้าความผิดปกติ ชัดเจนมากและมีผลให้ใช้ชีวิตในสังคมได้หรือมีผลต่อการสอดใส่ขนาดมีเพศ สัมพันธ์ ก็คงต้องผ่าตัดแก้ไข
  2. เกิดขึ้นภายหลังภาวะนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่าโรคไพโรนีย์ [PEYRONIES DISEASE] สาเหตุของการเกิดโรคไพโรนีย์เกิดจากการที่มีแผลเป็นเกิดขึ้นด้านนอกของท่อ ด้านบน 2 ท่อ ซึ่งทำหน้าที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศระหว่างที่แข็งตัวแผลเป็นด้าน หนึ่งจะดึงไม่ให้ผิวด้านบนยืดออกทำให้อวัยวะเพศงอมาด้านที่มีแผลเป็นยิ่งมี การแข็งตัวขึ้นมากเท่าไหร่การงอก็จะเห็นได้ชัดมากขึ้นเท่านั้น

โรคไพโรนีย์เป็นโรคที่พบในคนสูงอายุเลยวัยกลางคนโดยมักเกิดที่อายุ 45-60 ปี พบมากในคนที่มีอายุ 55 ปี มีโอกาสเกิด 1-3 % ของคนทั่วไปโดยภาวะที่ปกติระยะแรกมีดังนี้

  1. ปวดเวลาแข็งตัวและมีเพศสัมพันธ์โดยที่การปวดเกิดจากแผลเป็นที่ผิวและ เกิดจากการปวดเมื่อยจากการตึงผิดปกติด้านใดด้านหนึ่งขณะที่ร่วมเพศโดยอวัยวะ ที่โค้งงอมากๆแล้วกดโดนผนังช่องคลอดที่ตรงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฐานอวัยวะ เพศต้องทำงานหนักขึ้น จึงเกิดการปวดเมื่อยมากเวลาร่วมเพศ
  2. เริ่มมีการโค้งงอของอวัยวะเพศ
  3. ขนาดของอวัยวะเพศเล็กลงจากการรัดของพังพืดและมีการลดของความยาว
  4. ถ้าคลำดูจะคลำได้ก้อนแข็งที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะเพศ

สาเหตุของโรคไพโรนีย์ เชื่อว่าเกิดจากการเกิดบาดแผลหลังการกระทบกระเทือนที่ผนังด้านใดด้านหนึ่ง ของท่อด้านบนที่ทำหน้าที่แข็งตัวโดยมากมักเกิดจากการร่วมเพศโดยอาจเกิดจาก การร่วมเพศอย่างรุนแรงหรือการเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็วโดยเมื่ออายุ 50 ปี เนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางส่วนจะลดความยืดหยุ่นลงทำให้เกิดการฉีกขาดและเกิดแผล ได้ง่าย แผลที่เกิดขึ้นจะเกิดการอักเสบและหายเองได้ในบางราย แต่บางรายจะหายและเกิดแผลเป็นตามทำให้เกิดภาวะโรคไพโรนีย์ในภายหลัง โรคไพโรนีย์มักพบในคนที่เป็นหรือเป็นเก๊ามากกว่าในคนทั่วไป นอกจากนี้แล้วโรคไพโรนีย์ยังอาจเกิดจากอุบัติเหตุภายนอก เช่นอุบัติเหตุจราจรหรือ จากการถูกทำร้ายร่างกายได้

โรคไพโรนีย์ เป็นโรคที่หายได้เอง โดยทั่วไปจะแบ่งระยะของโรคเป็น 2 ระยะ เพื่อประโยน์ในการเลือกวิธีการรักษาดังนี้

A. ระยะแรกเป็นระยะที่มีการอักเสบของแผลภายใน

  • มีอาการปวดที่บริเวณแผลเป็นในอวัยวะเพศ
  • มีการโค้งงอมากขึ้นเรื่อยๆ
  • การแข็งตัวไม่แน่นอน บางวันทำได้ บางวันทำไม่ได้
  • ปวดมากทุกครั้งที่แข็งตัว

ระยะนี้ทั่วๆไปใช้เวลาประมาณ 12 เดือนการรักษาระยะนี้เป็นการรักษาโดยใช้ยาแก้ปวดอาจจะเป็นวิตามิน E ,สเตียร์รอย , ยาบล็อกแคลเซียม โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อลดความเจ็บปวดไม่แนะนำให้ผ่าตัดเวลานี้เพราะการ ดำเนินของโรคยังมีและมีการเปลี่ยนแปลงตลอด

B. ระยะที่ 2 เป็นระยะคงที่แผลภายในหายสนิทแล้ว

  • คลำได้ก้อนแข็ง ,ไม่เจ็บ
  • การโค้งงอไม่เป็นมากขึ้น
  • การสั้นลงของอวัยวะเพศคงที่
  • อาจมีภาวะที่ไม่แข็งตัว ในกรณีที่มีแผลรอบเส้นรอบวงของอวัยวะเพศทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปที่ปลายอวัยวะเพศได้

ส่วนใหญ่แผลของไพโรนีย์ มักเกิดที่ด้านบนทำให้อวัยวะเพศโค้งงอออกในด้านบน การรักษาในระยะที่ 2 เป็นระยะที่ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นก็สามารถผ่าตัดได้ โดยทั่วไปส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคนี้เมื่อหายสนิทเข้าสู่ระยะที่ 2 แล้วอาจมีความผิดปกตินิดหน่อย ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ถ้าความผิดปกติมีชัดเจน จนไม่สามารถร่วมเพศและใช้ชีวิตคู่ได้ปกติก็ต้องทำผ่าตัดหรือการโค้งงอที่ เห็นได้ชัดเจนมาก จนไม่สามารถสอดใส่ได้หรือบางกรณีมีการโค้งงอไม่มากแต่มีความเจ็บปวดมากทุก ครั้งที่ร่วมเพศก็ไม่สามารถใช้ชีวิตคู่ตามปกติได้อย่างมีความสุข

คลินิกศัลยกรรมสำหรับผู้ชาย - Clinic For Men

เทคนิคการผ่าตัด

การแก้ไขการโค้งงอ ทำได้หลายวิธีดังนี้

  1. การเย็บด้านตรงข้ามกับด้านที่โค้งงอเป็นเทคนิคที่ใช้ไหมชนิดไม่ละลาย เย็บด้านตรงข้ามกับด้านที่งอวิธีนี้ทำได้โดยง่าย,ความเสี่ยงน้อยเพราะไม่ ต้องเปิดผนังของท่อที่ทำหน้าที่แข็งตัวแต่มีโอกาสที่ไหมจะขาดในภายหลังทำให้ เกิดการงอใหม่ได้ เทคนิคนี้ใช้เฉพาะความผิดปกติแต่กำเนิดถ้าใช้ในโรคไพโรนีย์ มีโอกาสที่จะมีคือการโค้งงอใหม่ประมาณ25% เทคนิคนี้เหมาะจะใช้กับการแก้ไขความโค้งงอเล็กๆน้อยๆที่เหลืออยู่
  2. การผ่าตัดและเย็บ [NESBIT] ทำโดยการเปิดแผลอวัยวะเพศ เช่นเดียวกับการขลิบหนังแยกเส้นประสาท และเส้นเลือดออกตัดผิวของท่อทรงกระบอก 1 มม.  – ลดความงอได้ 10 % แล้วเย็บปิดโดยใช้ไหมที่ละลายช้าๆ เทคนิคนี้แนะนำให้ใช้ ในกรณีที่เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดหรือในโรคไพโรนีย์ที่ไม่ต้องการใช้กราฟ
  3. การตัดแผลเป็นและปิดด้วยกราฟ [LUE] การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดที่แผลเป็นอาจจะตัดแผลเป็นออกหรือไม่ก็ได้ ถ้าแผลเป็น เป็นแผลนิ่ม แต่ถ้าแผลเป็นมีแคลเซี่ยมสะสมแล้วต้องตัดออก หลังจากตัดแผลเป็นแล้วต้องทำการขยายแผลแล้วต้องใช้เนื้อเยื่อมาปิดช่องว่าง ที่เกิดขึ้นการเลือกโดยเนื้อเยื่อที่นำมาใช้ปิดขึ้นกับความถนัดของศัลยแพทย์ โดยอาจใช้ผนังเส้นเลือดดำ ,พังพืดจากที่อื่น ผิวหนังหรืออาจใช้ผนังของท่อด้านบนอย่างอวัยวะเพศด้านตรงข้าม เทคนิคนี้เป็นเทคนิคมาตรฐานสำหรับโรคไพโรนีย์ไม่แนะนำให้ใช้กับคนที่ต้อง การแก้ไขความโค้งงอเล็กน้อยเพราะต้องมีการตัดเนื้อที่อื่นๆมาทำกราฟ

สำหรับในคนที่มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวอาจมีการใส่อุปกรณ์ช่วยในการแข็ง ตัวร่วมด้วยหรือในกรณีที่หลังผ่าตัดแล้วเล็กลงอาจต้องทำการเพิ่มขนาดร่วม ด้วย

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. ยาที่ทานประจำเป็นยาความดันให้ทานปกติ เช้าวันที่ผ่าตัด
  2. งดน้ำและอาหาร 6-8 ช.ม. ก่อนผ่าตัด
  3. งดสูบบุหรี่  3 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด
  4. เตรียมเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายหลังผ่าตัดแนะนำให้ใช้กางเกง boxer และ เสื้อหลวมๆ
  5. เตรียมหยุดงานประมาณ 10-14 วัน
  6. งดยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน อาหารเสริมบางชนิดที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่นกระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด
  7. ทำความสะอาด โกนขนอวัยวะเพศก่อนมาผ่าตัด
  8. ไปถึงโรงพยาบาลก่อนผ่าตัด 4-5 ชั่วโมง

ขั้นตอนการผ่าตัด

การผ่าตัดทำโดยดมยาสลบ ยกเว้นเทคนิคที่ 1 สามารถฉีดยาชาได้ ถ้าแก้ไขเล็กน้อย

  1. ดมยาสลบ
  2. วางรูปตำแหน่งของแผลถ้าเป็นโรคไพโรนีย์
  3. ตรวจความโค้งงอในภาวะที่แข็งตัว
  4. เปิดแผลบริเวณใต้ต่อขอบของหัวอวัยวะเพศ เช่นเดียวกับการขลิบหนังหุ้มปลาย
  5. แยกเส้นเลือดและเส้นประสาทออกจากท่อทั้งสาม
  6. แก้ไขความโค้งงอตามเทคนิคที่ตกลงไว้
    6.1 สำหรับเทคนิคที่ 2
    – ตัวผิวหนังของท่อฝั่งตรงข้าม กรณีที่โค้งงอโดยดูตามความโค้ง 1 มม. แก้ความโค้ง 10องศา
    – เย็บปิดโดยไหมละลายช้า [PDS]6.2 สำหรับเทคนิคที่ 3
    – ตัดแผลเป็นที่แข็งออกหรือไม่ตัดออกถ้าแผลนิ่ม
    – เปิดแผลที่ต้นขาเพื่อเอาผิวหนังหรือเส้นเลือดดำมาเตรียมปิดแผลที่ท่อของอวัยวะเพศ
    – เย็บปิดแผลต้นขา
    – ใช้เส้นเลือดด้านบนปิดช่องว่างที่ท่ออวัยวะเพศโดยให้ด้านในสัมผัสกับด้านในของท่อ
  7. ทดสอบการแข็งตัวอีกครั้งถ้ามีการโค้งงอเล็กน้อย อาจใช้การเย็บของเทคนิคที่ 1 ช่วยแก้ไข
  8. ดึงผิวหนังเข้ามาเย็บปิดตามเดิม

การดูแลหลังการผ่าตัด

  1. อาการปวดไม่มากโดยทั่วไปทานยาแก้ปวด ก็มักจะได้ผลดี
  2. ใช้ผ้าปิดแผลไว้ 3 วัน
  3. งดร่วมเพศ 5 อาทิตย์
  4. ถ้าใช้การเย็บอาจคลำได้ปมไหมที่ผิวหนังได้
  5. งดการขับรถหรืองานที่ใช้เครื่องจักร 2 อาทิตย์
  6. งดดื่มสุรา 2 อาทิตย์
  7. สามารถอาบน้ำได้ ในวันที่ 3
  8. ระวังรักษาแผลให้แห้งอย่าให้เปียกน้ำ
  9. งดการเดินไกลๆยืนนานๆหรือยกของหนัก 2 อาทิตย์
  10. ออกกำลังกายได้เมื่อ 4 อาทิตย์
  11. อาการบวมหรือเขียวช้ำจะดีขึ้นใน 1-2 อาทิตย์
  12. ทานยาแก้ปวดและแก้อักเสบ ตามที่ให้ห้ามทานยากลุ่มแอสไพริน 2 อาทิตย์ หลังผ่าตัด
  13. งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 3 อาทิตย์
  14. แผลอาจมีเลือดออกบ้าง ถ้ามีเลือดออกผิดปกติมากให้ติดต่อแพทย์ทันที
  15. งดทำงานหนักหรือหยุดงานประมาณ 7-10 วัน
  16. ใช้สำลีชุบน้ำเกลือเช็ดรอบๆแผลเช้า-เย็น

หมายเหตุ

การผ่าตัดแก้ความโค้งงอจะมีปัญหาเรื่องความยาวของอวัยวะเพศลดลงโดยทั่วไป เทคนิคที่ 3 ไม่ลดลงส่วนเทคนิคที่ 1-2 จะลดลงมากกว่าแต่มีความแข็งแรงของแกนอวัยวะเพศมากกว่า