คลินิกศัลยกรรมสำหรับผู้ชาย - Clinic For Men

การเสริมจมูก

การเสริมจมูก เป็นการตกแต่งโครงสร้างของจมูก ให้มีรูปร่างที่สวยงาม สูงขึ้น และรับกับใบหน้าหรือทำให้โหงวเฮ้งดียิ่งขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มี   โครงสร้างจมูกแบนและต้องการเสริมจมูกในแนวกลางจมูก การเสริมจมูกจะช่วยได้ เฉพาะส่วนกลางจมูก ไม่สามารถเสริมด้านข้างได้

ผู้ชายมักมีโครงสร้างใบหน้าใหญ่ และผิวหนังที่ปลายจมูกหนากว่าผู้หญิง การผ่าตัดเสริมจมูกในผู้ชายโดยการใช้ซิลิโคน จึงมักมีการใช้ซิลิโคนที่มีแกนกว้างกว่า เพื่อให้โครงสร้างจมูกไม่เหมือนผู้หญิง ปลายจมูกไม่ควรมีรูปทรงที่เล็กแหลมเกินไป เพราะอาจไม่สมส่วนกับโครงสร้างอื่นๆ

วัสดุที่ใช้เสริมจมูก

  1. กระดูกและกระดูกอ่อน ใช้เสริมจมูกในกรณีที่ต้องการใช้วัสดุของตนเองโดยทั่วไป อาจใช้กระดูกซี่โครงหรือกระดูกหลังใบหู แต่ถ้าต้องการเสริมตั้งแต่โคนจมูกถึงปลายจมูก ควรใช้กระดูกซี่โครงช่วงกระดูกอ่อนและกระดูกแข็ง กระดูกซี่โครงมีข้อดีที่สามารถใช้เสริมได้ในระยะยาวโดยไม่มีปัญหาการติเชื้อหรือทะลุแต่มีข้อเสียที่จะต้องมีแผล  2 ตำแหน่ง
  2. ผิวหนังและไขมัน โดยส่วนมากจะใช้ผิวหนังบริเวณ ขาหนีบ หรือหน้าท้อง นำมาใช้ในการเสริมจมูก ข้อดีคือ เป็นวัสดุธรรมชาติ แต่ไม่สามารถจัดทรงได้เหมือนการใช้กระดูก และกระดูกอ่อน
  3. วัสดุสังเคราะห์ (Synthetic Prothesis) เช่น ซิลิโคนแท่ง (Silicone) ที่ใช้ในวงการแพทย์ เพราะจะมีปฏิกิริยาต่อร่างกายมนุษย์น้อยมาก ซึ่งทำให้ร่างกายสามารถรับและห่อหุ้มแท่งซิลิโคนให้ยึดติดอยู่กับเนื้อเยื่อได้ดี นอกจากซิลิโคนเหลวแล้ว ยังมีการใช้กอร์เทกซ์ (Gore tek) มาใช้กันบ้างการใช้วัสดุสังเคราะห์ ซิลิโคนแท่ง ถึงเป็นวิธีที่นิยมมากเพราะปลอดภัยและมีปัญหาน้อยที่สุด เพราะสามารถแก้ไขได้ถ้าไม่พอใจ แต่การใช้วัสดุสังเคราะห์ อาจทำไห้ติดเชื้อหรือทะลุได้ถ้าปลายโด่งเกินไป

เทคนิคการผ่าตัด

เทคนิคที่ 1 การเสริมจมูกโดยใช้ ซิลิโคนแท่งสำหรับผู้ที่มีโครงสร้างจมูกปกติ ไม่ต้องการตัดปีกจมูกและไม่ต้องการทรงจมูกที่สูงเกินไป วิธีนี้สามารถทำได้ที่คลินิก โดยมีแผลเป็นอยู่ด้านในจมูกทั้ง 2 ข้าง หรือข้างเดียว แล้วแต่ความถนัดในการผ่าตัดของแพทย์แต่ละท่าน ซิลิโคนที่ใช้เป็นซิลิโคนที่ผลิตเพื่อใช้ในการแพทย์ (MEDICAL GRADE)

เทคนิคที่ 2 การเสริมจมูกโดยใช้ Silicone และกระดูกอ่อนจากใบหู เหมาะสำหรับ 
2.1. ผู้ที่เสริมจมูกแล้วมีปัญหาเรื่องผิวหนังบางลงจนเกือบทะลุ
2.2 ผู้ที่มีผิวหนังที่ปลายจมูกบางแต่ต้องการเสริมจมูกในทรงที่สูงมาก

วิธีดังกล่าวทำโดยผ่าตัดเปิดแผลที่หลังใบหูและตัดกระดูกอ่อนพร้อมใบหูและนำมาวางบนปลายซิลิโคนแท่ง

เทคนิคที่ 3 การเสริมจมูกร่วมกับการตัดปีกจมูก
ใช้กับผู้ที่มีปีกจมูกกว้างและควรตัดเพื่อความสวยงาม ขณะที่ผ่าตัดเสริมจมูก อาจทำการผ่าตัดปีกจมูกต่อได้เลยทันที ทำให้ประหยัดเวลาที่จะต้องมาผ่าตัดในภายหลัง

เทคนิคที่ 4 การเสริมจมูกโดยการฉีดสารธรรมชาติ การเสริมจมูกโดยการฉีด เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัดหรือใส่สารแปลกปลอมในร่างกาย ทางคลินิกจะฉีด Collagen หรือ Hyalunic acid จะคงรูปอยู่ได้ประมาณ 1 ปี การเสริมจมูกโดยการฉีดสารต่างๆ มีข้อดี คือ ทำได้เร็ว, บวมน้อย แต่รูปทรงจมูกจะไม่มีสันจมูกคมชัดมาก มักมีจมูกมนๆ แต่มีโครงสร้างจมูกสูงขึ้น

เทคนิคที่ 5 ใช้กระดูกอ่อนโดยใช้กระดูกอ่อนใบหู ใช้ในกรณีที่

1) เสริมจมูกด้วยซิลิโคนจนสูงมากและมีหนังปลายจมูกบางมาก หลังจากเอาซิลิโคนจมูกออกแล้ว หนังจะยุบลงจนมีรูปร่างไม่สวยงาม อาจแก้ไขโดยการเสริมจมูกตำแหน่งปลายด้วยกระดูกอ่อน หรือใช้แผ่นซิลิโคนเล็กๆ วาง แต่การใช้กระดูกอ่อนใบหูจะมีข้อดีที่ไม่เป็นสารแปลกปลอม ทำให้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง

2) ต้องการเสริมจมูกบางส่วน เช่น ปลายจมูกหรือบริเวณสันจมูก โดยต้องการเสริมในปริมาณไม่มากและไม่ต้องการใช้ซิลิโคนเสริม อาจใช้กระดูกอ่อนใบหูหรือผิวหนังที่ขาหนีบได้

เทคนิคที่ 6 เสริมจมูกโดยใช้กระดูกซี่โครง มักใช้แก้ปัญหาจมูกแบนลงจากอุบัติเหตุ แต่ในบางรายที่ต้องการเสริมจมูกโดยวัสดุสารธรรมชาติ และต้องการเสริมค่อนข้างสูง การเสริมโดยกระดูกซี่โครงและกระดูกอ่อนซี่โครงก็ทำได้ผลดี

เทคนิคที่ 7 การเสริมจมูกพร้อมกับการขูดซิลิโคนเหลวออก ในคนที่เคยฉีดจมูกโดยใช้ซิลิโคนเหลว มักเกิดปัญหาเรื่องของการไหลของสารแปลกปลอมมาที่ปลายจมูกและด้านในของดวงตา สามารถขูดซิลิโคนออกแล้วเสริมจมูกโดยใช้ซิลิโคนแท่งได้อย่างไรก็ตาม ซิลิโคนเหลวมักมีการไหลไปทั่วๆ รวมทั้งซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติ ดังนั้น การผ่าตัดแต่ละครั้งจะไม่สามารถเอาซิลิโคนออกได้ทั้งหมด จะเอาออกได้บางส่วนเท่านั้น

เทคนิคที่ 8 การเสริมโดยใช้ผิวหนังและไขมัน  เป็นทางเลือกวิธีหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมโดยใช้สารธรรมชาติ หรือผู้ที่เคยมีปัญหาหลังการเสริมโดยใช้ซิลิโคน การผ่าตัดทำโดยใช้ผิวหนังและไขมันบริเวณขาหนีบ

เทคนิคที่ 9 การแก้ไขจมูกหลังจากเคยเสริมจมูกแล้ว  ในบางคนที่เคยเสริมจมูกมาเป็นเวลานาน บางครั้งกระดูกมีรูปร่างเปลี่ยนไปบ้าง อาจต้องมีการขูดกระดูกให้เรียบขึ้นด้วยการเสริมครั้งใหม่

ชนิดของซิลิโคนที่ใช้เสริมจมูก

  • ซิลิโคนแท่ง
    นำมาตัดออกเป็นชิ้นๆ แล้วเหลาเสริมจมูกให้แต่ละคน
  1. ซิลิโคนญี่ปุ่น
  2. ซิลิโคนอเมริกาแบบนิ่มปานกลาง
  3. ซิลิโคนอเมริกาแบบนิ่มมาก
  • ซิลิโคนสำเร็จรูป
    มีการทำรูปซิลิโคนเป็นรูปสำหรับเสริมจมูก สามารถเสริมจมูกได้เร็ว แต่ไม่สามารถเข้าได้กับรูปหน้าของแต่ละคน
    ซิลิโคนเกาหลีแบบสำเร็จรูป ที่มีการนำมาใช้เสริมจมูกในประเทศไทย มีการผลิตจากประเทศไทย, ญี่ปุ่น, อเมริกา, บราซิล

ระดับการเสริมซิลิโคน

การเสริมโดยใช้ซิลิโคนจะมีระดับการเสริม 2 แบบ
     1) ใต้ผิวหนัง มีข้อดี คือ สันจมูกเห็นได้ชัด แต่มักมีปัญหาเรื่องเอียงได้ง่าย
     2) ใต้เยื่อบุกระดูก มีข้อดี คือ มักไม่ค่อยเอียง, เป็นธรรมชาติ แต่เห็นสันจมูกไม่ชัดเจน

ผู้ที่ไม่ควรเสริมจมูก

การเสริมจมูกโดยใช้ซิลิโคนเป็นการผ่าตัดที่ผู้รับการบริการ ต้องมีการดูแลหลังผ่าตัด ดังนั้นคนไข้ต่อไปนี้จึงไม่ควรผ่าตัด
1. นักกีฬาหรือผู้ที่ชอบเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระเทือนรุนแรง เช่น วอลเล่ย์บอล, บาสเกตบอล
2. ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติหรือเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นมากขึ้น
3. ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ และอยู่ในช่วงที่มีภาวะแพ้มาก โดยทั่วไปผู้ที่เป็นภูมิแพ้สามารถเสริมจมูกได้ แต่ระหว่าง 1 – 2 อาทิตย์หลังผ่าตัด อาจต้องการยาแก้ภูมิแพ้ช่วยได้ แต่ในผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้รุนแรง มีน้ำมูกไหลตลอด อาจไม่เหมาะจะเสริมจมูก เนื่องจากทำให้แผลติดเชื้อได้
4. ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น กินยาเสตียรอยด์ หรือภาวะที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นโรค AIDS เนื่องจากการเสริมจมูก จะมีสารแปลกปลอมในร่างกาย อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

1. ถ้ามีแผลหรือสิ่งที่บริเวณดั้งจมูกหรือปลายจมูก ควรรอให้สิวหรือแผลหายก่อนจึงจะทำการผ่าตัดได้
2. งดยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
3. สมุนไพรบางชนิด เช่น อีฟนิ่งพริมโรส ยาวิตามินอีปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพรก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 3 – 5 วัน
4. ควรมีเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด
5. ลาหยุดงาน ประมาณ 3 – 5 วัน
6. ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวของคุณ เช่น เบาหวาน,โรคหัวใจ, โรคหลอเลือดสมอง และยาที่แพ้ เช่น เพนนิซิลิน,ซัลฟา ฯลฯ
7. ล้างหน้าก่อนมาผ่าตัด
8. ถอดวัสดุโลหะ เช่น แหวน, สร้อยคอ, นาฬิกา ฯลฯ ก่อนเข้าห้องผ่าตัด
9. เลือกแบบจมูก

ขั้นตอนการผ่าตัด

1. ให้ยานอนหลับที่มีฤทธิ์สั้นๆ เพื่อให้นอนหลับ ลดอาการวิตก และฉีดยาชารอบจมูก
2. เมื่อมีการวัดจมูกเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะนำแท่งซิลิโคน ซึ่งได้ตกแต่งและทำรูปร่างตามที่กำหนดไว้มาใส่ที่สันจมูก
3. แผลที่ผ่าตัดจะมีความยาวประมาณ 1 ซม. บริเวณขอบรูจมูก
4. ผ่าตัดสร้างช่องว่าง (Pocket) ที่สันจมูกใต้เยื่อหุ้มกระดูกจมูก
5. ใส่แท่งซิลิโคนที่เตรียมไว้และตรวจสอบความเรียบร้อย
6. เย็บปิดแผลโดยใช้ไหมละลาย
7. ปิดพลาสเตอร์ เพื่อช่วยป้องกันการเอียงของจมูก ทั้งนี้การใช้วัสดุเย็บแผลหรือชนิดพลาสเตอร์ขึ้นอยู่    กับการพิจารณาของแพทย์
8. ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 45 นาที ไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล
9 .นอนพักประมาณ 15-20 นาที เมื่อฤทธ์ยาชาลดลงจึงกลับบ้านได้

การดูแลหลังการผ่าตัด

1. ประคบเย็นบริเวณแผล วันละ 4 ครั้ง ทำประมาณ 4 – 7 วันเพื่อลดอาการบวม จนประมาณ 1 สัปดาห์ จึงค่อยประคบอุ่นๆเพื่อลดอาการบวม
2. สามารถแกะปลาสเตอร์ที่ปิดจมูกออกได้ 3-5 วันหลังผ่าตัด
3. ทำความสะอาดในรูจมูกด้วยน้ำเกลือสะอาด โดยใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำสะอาดเช็ดในรูจมูก เพื่อเช็ดคราบเลือดและสิ่งสกปรกออกโดยเช็ดอย่างเบามือ
4. นอนศีรษะสูง (หนุนหมอน 2 ใบ) เพื่อลดอาการบวม
5. รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ถ้ามีอาการแพ้ยา เช่น คัน มีผื่นแดง คลื่นไส้-อาเจียน แน่นหน้าอก ให้หยุดรับประทานทันที และมาพบแพทย์
6. หลังทำการผ่าตัด 1 สัปดาห์ ให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอีกครั้ง
7. งดสุราและบุหรี่ ประมาณ 2 สัปดาห์
8. งดอาหารรสจัดหลังผ่าตัด
9. โดยทั่วๆ ไปจะบวมมากใน 3 วันแรก หลังจากนั้นจะบวมน้อยลงเรื่อยๆ จนปกติใน 3 อาทิตย์อาการบวมเขียวอาจมีที่จมูกและใต้ตาทั้ง 2 ข้าง
10. อาการบวมเขียวสามารถบรรเทาได้โดยประคบน้ำอุ่นในวันที่ 3 – 4
11. จะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย สามารถกินยาแก้ปวดตลอด 2 – 7 วัน
12. แผลจะหายดีภายใน 3 – 10 วัน และอาการบวมจะค่อยๆ ยุบภายใน 1 – 6 อาทิตย์
13. ห้ามสั่งน้ำมูกอย่างแรง ถึงคุณจะมีน้ำมูกอุดตัน ขอแนะนำให้เอาคอตตันบัตชุบน้ำเกลือเช็ดจมูกออก และพยายามดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อจะได้บรรเทาอาการคัดจมูก
14. ห้ามอุ้มเด็ก เพราะเด็กอาจจะจับหรือตีจมูกคุณได้โดยไม่รู้ตัว

 

หมายเหตุ

  • ระวังการโดนกระแทก หากเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับบาดแผล แผลอักเสบปวด – บวมแดงให้มาพบแพทย์โดยเร็ว
  • ไหมที่ใช้เย็บแผลเป็นไหมละลาย ถ้าเห็นเส้นไหมหลุดหรือโผล่ ให้ตัดออกเองได้
  • หากมีข้อสงสัยหรือวิตกกังวลเกี่ยวกับแผลให้โทรมาสอบถาม
  • ล้างหน้า รับประทานอาหาร ออกกำลังกายได้ตามปกติ
  • หลังผ่าตัดห้ามออกกำลังกายหนักๆ หรือเล่นกีฬารุนแรง
  • จะรู้สึกชาที่ปลายจมูก 2 – 3 สัปดาห์
  • หลังจากแกะพลาสเตอร์ออกแล้ว ก็แต่งหน้าได้
  • สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ต้องแต่งหน้ากลบอาการบวมและรอยช้ำอยู่
  • จะสามารถออกกำลังกายได้หลังจากผ่าตัดแล้วภายใน  4-6 สัปดาห์
  • การใสแว่นห้ามวางบนสันจมูก ให้ติดขาแว่นไว้กับขมับสักสองอาทิตย์หลังการผ่าตัด หรือถ้าตาไม่บวมแล้ว จะใส่คอนแทคเลนส์แทนได้
  • ห้ามตะแคงเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้จมูกผิดรูปได้
  • หากรู้สึกว่าจมูกเกิดอาการบวมมากผิดปกติ หรือมีเลือดออกให้รีบมาพบแพทย์

อาการข้างเคียง

  1. จมูกอักเสบ
    อาจเกิดจากการติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัด และอาจเป็นเพราะเสริมจมูกจนโด่งเกินไป ทำให้ปลายจมูกแดงและเกิดการอักเสบ ตามมาให้รีบติดต่อศัลยแพทย์โดยด่วน
  2. จมูกเอียง
    ถ้าตรวจพบในช่วงสองสัปดาห์แรก ก็อาจดัดให้เข้าที่ได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นหลังจากนั้น เป็นเพราะถูกชนหรือกระแทก จะต้องผ่าตัดใหม่