การเสริมกราม
การเสริมกรามเป็นการผ่าตัดเสริมกระดูกขากรรไกรด้านหลังเพื่อให้มุมกรามดูคมชัดรูปหน้ามีลักษณะ มีมิติ ของโครงสร้างใบหน้าด้านข้างและรูปหน้าตรงจะดูยาวขึ้นมีลักษณะรูปหน้าที่เป็นผู้ชายมากโดยจะมองเห็นโครงสร้างของกระดูกขากรรไกรล่างชัดเจนมาก ช่วยให้รูปหน้าบางคนที่เป็นวงรีหรือกลมดูยาวและมีความคมชัดมากขึ้น และมีลักษณะรูปหน้าของผู้ชายมากขึ้น ความคมชัดของขากรรไกรล่างช่วยให้รูปกายภาพด้านข้างดูดีขึ้นมากและโครงสร้างใบหน้าดูโดดเด่นขึ้น ถ้าเราเปิดนิตยสารแฟชั่นทั่วไปประเทศไทยและต่างประเทศจะพบว่านายแบบนางแบบส่วนใหญ่ที่ถ่ายภาพออกมาได้ดีมักมีสัดส่วนด้านข้างของกระดูกขากรรไกรล่างเด่นชัด
การผ่าตัดอาจทำร่วมกับการดูดไขมันที่ใบหน้า ตัดไขมัน กระพุ้งแก้มกับเสริมคางหรือเสริมโหนกแก้มร่วมด้วย เพื่อให้โครงสร้างอื่นๆดูเด่นชัดมากขึ้นเป็นสัดส่วนกับการเสริมกราม มักทำในผู้ชายอายุน้อย ที่ต้องการให้มีความโดดเด่น ของโครงสร้างของใบหน้า เพื่อให้ดูดีขึ้นเวลาถ่ายภาพ ในผู้หญิง หรือในผู้ชายที่ใบหน้าเป็นรูปกลมมาก การเสริมกรามช่วยลดความกลมของใบหน้าและดูใบหน้ากว้างขึ้น
โดยทั่วไปการผ่าตัดมักผ่าตัดโดยลงแผลด้านในปากแต่สามารถลงแผลด้านนอกได้ วัสดุที่ใช้เป็นซิลิโคนแท่งแต่อาจใช้กอร์เทคได้ ปัญหาของการผ่าตัดเสริมกรามคือซิลิโคนที่ใส่มีโอกาสที่จะเคลื่อนที่ได้มากมักจะเลื่อนออกมาในตำแหน่งของปาก ดังนั้น อาจต้องใส่สกรูยึดไว้ในบางส่วนเพื่อให้ไม่มีการเลื่อนหลุด หลังผ่าตัดจะมีความเจ็บ ด้านข้างเวลาเคี้ยวอาหารเพราะแท่งซิลิโคนจะถูกใส่ไว้ที่ใต้กล้ามเนื้อที่ใช้เคี้ยวอาหารในระยะแรกหลังการผ่าตัดจะรู้สึกถึงแท่งซิลิโคนเวลาเคี้ยวอาหารแต่จะคุ้นเคยมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ในปัจจุบันซิลิโคนแท่งมีการทำในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยมีแบบที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเดิมซึ่งใช้ในผู้ชายแต่ไม่นิยมใช้ในผู้หญิง การผ่าตัดหลังจะใส่แท่งซิลิโคนแล้ว แนะนำให้ใช้สกรูยึดไว้ ในรายที่ต้องยึดด้วยสกรูอาจต้องทำการผ่าตัด โดยการดมยาสลบ ไม่สามารถฉีดยาชาทำได้
เทคนิคการผ่าตัด
- เปิดแผลในปาก นิยมทำกันมากกว่า
- เปิดแผลที่ผิวหนังภายนอก
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- เตรียมลาหยุดงานประมาณ 3 – 5 วัน
- งดอาหารและน้ำ 6 – 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- งดยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน ทัมใจ ก่อนผ่าตัด 10 วัน
- สมุนไพรบางชนิด เช่น อีฟนิ่งพรีมโรส ยาวิตามิน E ปริมาณสูงๆอาจทำให้เลือด ออกมากผิดปกติ หรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัดควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพร ก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 7วัน
- ควรพาเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด
- ล้างหน้า –แปรงฟัน ก่อนมาผ่าตัด , งดใช้โลชั่น ,น้ำยาดับกลิ่น, น้ำหอม , หรือเครื่องสำอาง
- ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวของคุณ เช่น เบาหวาน , โรคหัวใจ และยาที่แพ้ เช่น เพนนิซิลิน , ซันฟา ฯลฯ
- ถ้ามีความดันโลหิตสูงต้องควบคุมให้ต่ำกว่า 140/90 mm hg (มิลลิเมตร ปรอท) ก่อนมารับการผ่าตัด
- เตรียมเสื้อผ้าสวมสบายใช้หลังผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าตัด
- ปกติทำโดยการดมยาสลบ
- ฉีดยาชาผสมอดินาลีนบริเวณที่ผ่าตัด
- เปิดแผลที่ในช่องปากยกกล้ามเนื้อเดียวออก แยกจากกระดูกขากรรไกร เปิดช่องว่างและใส่ซิลิโคนในตำแหน่งที่ต้องการ
- เย็บซิลิโคนติดกับเนื้อเยื่อหรือใช้สกรูใส่ติดกับกระดูกเพื่อไม่ให้ซิลิโคนเคลื่อน
- เย็บปิดแผลที่เหงือก
การดูแลการผ่าตัด
- จะมีความรู้สึกไม่สบายเวลาเคี้ยวอาหารประมาณ 2 – 3 สัปดาห์
- อาการบวม ตึงกล้ามเนื้อประมาณ 1 – 2 สัปดาห์
- ถ้ามีผ้าพันศรีษะให้พันทิ้งไว้ 2 – 3 วัน
- เทปที่ใช้ติดกันการเลื่อนของซิลิโคนให้ปิดไว้ 6 – 7 วัน
- บ้วนปากบ่อยๆด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปาก
- ทานยาลดบวมและยาแก้อักเสบตามที่แพทย์สั่ง
- ถ้ามีอาการบวมผิดปกติหรือแดงมากให้กลับมาพบแพทย์
- นัดตัดไหมเมื่อครบ 5 วัน ถ้าเปิดแผลภายนอก แต่ถ้าเปิดแผลในปากไม่ต้องตัดไหม
- ประคบเย็นที่ใบหน้า (บริเวณหน้าผาก, แก้ม 2 ข้าง) วันละ 4 ครั้งเพื่อลดอาการบวม
- นัดตรวจซ้ำประมาณ 2-3 วัน หลังผ่าตัด