5a. ตัดผิวหนังส่วนเกินที่อยู่ใต้ปานนมเพิ่ม [Extended Subareolar] โดยแผลไม่เกินขอบของปานนม เหมาะกับผู้มีผิวหนังส่วนเกินไม่มากนัก
ผ่าตัดลดขนาดเต้านมเพศชาย
ก้อนเต้านมในเพศชาย [GENECOMASTIA] มีโอกาสพบได้ในทุกวัยตั้งแต่แรกเกิด ,วัยรุ่น,ผู้ใหญ่ จนถึงวัยชรา โดยมากจะพบในวัยรุ่นมากกว่าวัยอื่นๆ โดยที่การโตของเต้านมอาจเกิดข้างเดียวหรืออาจโตทั้งสองข้างได้ ถ้ามีเต้านมเหมือนเพศหญิงสร้างปัญหาในการเข้าสังคมในเด็กวัยรุ่นทำให้ถูก เพื่อนล้อ ไม่สามารถใส่เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ตรัดรูป [Body fit] ได้เพราะเห็นเต้านมและหัวนมชัดเจน ทำให้สูญเสียความมั่นใจในรูปร่างของตัวเองและขาดความเชื่อมั่นถ้าจะต้องถอดเสื้อออก บางครั้งไม่สามารถทำกิจกรรมและการออกกำลังกายบางอย่างเช่นการว่ายน้ำ ยิมนาสติก กรีฑา ส่งผลให้เด็กวัยรุ่นบางคนไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติหรือถ้าจะออกกำลังกาย บางอย่างก็ต้องสวมเสื้อตลอดเวลา การผ่าตัดแก้ไขก้อนที่เต้านมเพศชาย เป็นการผ่าตัดที่ช่วยคืนความมั่นใจในรูปร่างของผู้ชายสร้างความเชื่อมั่นและ เพิ่มความมั่นใจในการทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่ต้องถอดเสื้อให้เห็นหน้าอก สามารถสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปและสวมเสื้อบางๆได้
บ่อยครั้งที่อาจไม่สามารถค้นพบสาเหตุการเกิด แต่โดยทั่วไปการเกิดก้อนเต้านม อาจเกิดได้โดยภาวะดังนี้
สาเหตุของการเกิดก้อนเต้านมในเพศชาย
1. การเปลี่ยนแปลงตามปกติของร่างกาย เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัยโดยในระยะการเจริญเติบโต บางรายจะมีการเปลี่ยนแปลง ระดับสัดส่วนของฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง โดยที่อาจมีการเสียสมดุลฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่าปกติซึ่งพบได้ในระยะเวลาดังนี้
A. ระยะแรกเกิดในเด็กแรกเกิดจะได้ฮอร์โมนเอสโตรเจน มากตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ทำให้มีเนื้อเต้านมมากตั้งแต่แรกเกิดเต้านมในเด็กจะลดขนาดและหายไปในเวลา 2-3 อาทิตย์ หลังจากคลอด
B. ระยะวัยรุ่นในระยะวัยรุ่นอาจเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนโดยมีฮอร์โมน เพศหญิงสูงกว่าฮอร์โมนเพศชายก้อนที่เต้านมในวัยนี้จะหายไปเมื่อพ้นระยะวัย รุ่นไปแล้ว
C. ในคนสูงอายุเกิดจากเซลล์ไขมันเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายเป็น ฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้มีฮอร์โมนเพศหญิงสูงขึ้น
2. โรคตับบางชนิด หรือการดื่มเหล้าเป็นประจำจนมีภาวะตับแข็ง
3. อ้วนมาก
4. การใช้สารสเตียรอยด์หรือกัญชา
5. ยาบางชนิด ยังพบว่าเป็นสาเหตุของก้อนที่เต้านมเพศชายได้บ่อย ได้แก่
– ยาลดกรด-CIMETIDINE, LOSEC
– ยาฆ่าเชื้อรา KETOCONAZONE หรือยาฆ่าเชื้อกลุ่ม METRONIDAZOLE
– ยารักษาวัณโลก
– แอมเฟตามินและเมทาโดน
– ยาต้านการซึมเศร้า
– ฮอร์โมนเพศหญิง
– ยาเคมีบำบัดบางชนิด
– สเตียรอยด์
6. ความผิดปกติของโครโมโซม เรียกว่า KLINEFELTER SYNDROME มักมีความผิดปกติอยู่เกี่ยวบ้าง เช่น อัณฑะขนาดเล็ก, การพัฒนาช้า โดยทั่วไปการเกิดก้อนที่เต้านมในเพศชายไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิด มะเร็งของเต้านมเมื่อเทียบกับคนปกติ ยกเว้นในภาวะโครโมโซมผิดปกติ
แนวทางการรักษาโดยไม่ผ่าตัด
จากที่ทราบแล้วว่าก้อนที่เต้านม อาจหายเองได้ในบางภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมตามวัย และบางครั้งจะพบว่ามีสาเหตุถ้าแก้ไขสาเหตุก็ทำให้ก้อนหายไปได้ หลักในการรักษาแบบไม่ผ่าตัด คือ
1. ตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติและรักษาที่สาเหตุ เช่น หยุดยาบางชนิดก้อนเต้านมจะลดลงหลังจากหยุดยา แต่ถ้าหลังจากหยุดยาหรือรักษาสาเหตุแล้ว ก้อนไม่เล็กลงอีก จึงพิจารณาผ่าตัดหลังจาก 1 ปี
2. ในก้อนเต้านมในวัยรุ่น มีการหายได้เองแต่ถ้าไม่หายใน 2 ปี จึงพิจารณาผ่าตัด
3. ในคนที่อ้วนมาก การลดน้ำหนักจะช่วยให้ก้อนที่เต้านมมีขนาดเล็กลง
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาผ่าตัดอาจทำได้เร็วขึ้นบางรายที่มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการใช้ชีวิตในสังคม เช่น ในเด็กที่ไม่สามารถเล่นกรีฬาได้ หรือถูกเพื่อนล้อจนไม่ไปโรงเรียนก็อาจพิจารณาผ่าตัดเร็วกว่าเวลาดังกล่าวได้
การรักษาโดยการผ่าตัด
ต้องตรวจดูลักษณะของก้อนว่าเป็นอย่างไร
ขนาดก้อนเต้านมเพศชาย แบ่งเป็น 3 เกรด ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกการรักษา
สำหรับเกรดที่ 1 และ 2 การรักษาไม่ยุ่งยาก แต่เกรดที่ 3 มักมีก้อนที่ใหญ่และมีผิวหนังเกิน อาจต้องพิจารณาเทคนิคการผ่าตัดที่ต้องมีการตกแต่งผิวหนังด้วยจึงจะได้ผลดี การตัดผิวหนังอาจทำตั้งแต่ครั้งแรกหรือพิจารณาทำในภายหลัง
การปรึกษาก่อนการผ่าตัด
การปรึกษาก่อนการผ่าตัดมีความสำคัญมาก เนื่องจากก้อนที่เต้านมในเพศชายมีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ และบางครั้งอาจมีการหย่อนยานของผิวหนังเช่นกับเต้านมหย่อนยานของเพศหญิง ดังนั้นเทคนิคการผ่าตัดอาจมีความแตกต่างได้หลายแบบ การตรวจร่างกายก่อนการผ่าตัดจะต้องตรวจดูว่าผิวหนังมีความยืดหยุ่นเพียงใด เพื่อวางแผนการผ่าตัด นอกจากนั้นยังต้องดูประวัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ
1. ประวัติการใช้ยา เนื่องจากยาบางชนิดเป็นสาเหตุของก้อนเต้านมได้
2.ในกรณีที่สงสัยโรคเรื้อรังหรือโรคทางต่อมไร้ท่อ ควรปรึกษาอายุรกรรมก่อนมาพบแพทย์ผ่าตัดหรือในคนที่ทานเหล้าเป็นประจำควรหยุด ทานเหล้าก่อน
3. ในคนที่อ้วนมากควรลองลดน้ำหนักก่อนนัดมาผ่าตัด
4. ตรวจร่างกายเพื่อดูขนาดก้อน ความหย่อนยานและระดับของหัวนมและปานนม
5. เลือกวิธีการผ่าตัดว่าจะใช้การดูดไขมัน หรือการดูดเอาก้อนออกหรือทำทั้ง 2 วิธี ต้องตัดแต่งผิวหนังด้วยหรือไม่
6. ถ้ามีการหย่อนยานของเต้านม มีแนวททางให้เลือก 2 วิธี คือ
A. ยังไม่ต้องตัดผิวหนังในการผ่าตัดครั้งแรก ผ่าตัดเอาเต้านมออกก่อนอย่างเดียว แล้วรอดูประมาณ 9 เดือน ว่าผิวหนังสามารถยืดหยุ่นจนตึงขึ้นได้หรือไม่ ถ้าหยืดหยุ่นได้ดีก็ไม่ต้องตัดผิวหนังเพิ่ม แต่ถ้ายังมีการหย่อนยานอยู่จึงค่อยตัดผิวหนังส่วนเกินประมาณ 9 เดือน หลังจากการผ่าตัดครั้งแรก
B. ถ้าการหย่อนยาเกิดขึ้นชัดเจน อาจต้องพิจารณาตัดผิวหนังส่วนเกิน ตั้งแต่การผ่าตัดครั้งแรก
7. ถ้ามีระดับหัวนมและปานนมต่ำ ต้องดูว่าต้องย้ายระดับปานนมหรือไม่ และต้องลดระดับปานนมด้วยหรือไม่ เพราะในคนที่มีเต้านมใหญ่มากปานนมมักมีขนาดใหญ่ด้วย ทำให้เหมือนปานนมผู้หญิง ในระหว่างที่ปรึกษากรณีที่คนมีปานนมและหัวนมใหญ่ ต้องดูด้วยว่าต้องการลดปานนมและหัวนมด้วยหรือไม่ หากต้องการลดลงจะลดลงเท่าใด
8. แผลเป็นที่เกิดหลังจากการผ่าตัด เนื่องจากเทคนิคการผ่าตัดมีการทำหลายรูปแบบ อาจต้องเลือกใช้เทคนิคในการเปิดแผลเข้าไปตัดก้อนออก หรือในกรณีที่ต้องตัดผิวหนังส่วนเกินอาจต้องดูแผลเป็นที่จะเกิดมาหลังผ่าตัด
9. เทคนิคที่ระงับความรู้สึก ในกรณีที่ก้อนไม่ใหญ่มากสามารถฉีดยาชาผ่าตัดได้ แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่และเต้านมหย่อนยานหรือต้องดูดไขมันเป็นบริเวณกว้าง อาจต้องดมยาสลบ
10. ตรวจดูลักษณะของก้อนว่าเป็นไขมัน หรือส่วนใหญ่เป็นเนื้อนม ถ้าเป็นไขมันจำนวนมากสามารถใช้การดูดไขมันอย่างเดียวได้ แต่ถ้าเป็นก้อนเนื้อนมแล้วต้องผ่าตัดออก เพราะท่อดูดไขมันมักจะไม่สามารถดูดเนื้อนมได้มาก ในปัจจุบันมีการลองใช้อัลตร้าซาวด์ในการดูดก้อนเต้านมที่มีเนื้อนม แต่ปรากฏว่ามักได้ผลไม่น่าพอใจเพราะยังคงเหลือเนื้อนมอยู่ให้เห็นได้ชัดหลังผ่าตัด
เทคนิคการผ่าตัด
1. การผ่าตัดเอาก้อนออก [Excision]
ทำในกรณีก้อนเต้านมเป็นก้อนเนื้อนมเป็นหลักการเปิดแผลผ่าตัดและตัดก้อนออกอาจลงแผลได้หลายแบบ ดังนี้
1a. แผลใต้ปานนม [Subareolar] ลงที่รอยต่อของผิวสีเข้มและสีขาววิธีนี้แผลจะดีที่สุดเป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่ สุดและแพทย์จะพยายามเลือกวิธีนี้เป็นวิธีหลักยกเว้นว่าจะมีปัญหาต้องตัดผิว หนังเพิ่มจึงเลือกใช้วิธีอื่น
1b. แผลเป็นกลางปานนม [Transareolar] ทำในกรณีที่ต้องการตัดปานนมบางส่วนหรือต้องการลดขนาดหัวนมร่วมด้วย
1c. แผลใต้ราวนม [Inframamary] ในบางคนที่ก้อนค่อนข้างใหญ่และเริ่มมีการคล้อยของเต้านมเล็กน้อยอาจใช้แผลนี้ได้
การผ่าตัดเอาเต้านมออกมักเหลือฐานนมเนื้อนมที่อยู่ใต้ปานนมไว้ ไม่ได้เอาออกทั้งหมดเพราะถ้าตัดเนื้อนมออกหมดจะทำให้ปานนมบุ๋มลงไปต่ำกว่า เนื้อหน้าอกที่อยู่รอบปานนมดูไม่สวยงาม
2. การดูดไขมัน [Liposuction]
ในกรณีที่เต้านมมีส่วนประกอบเป็นไขมันเป็นส่วนใหญ่ การดูดไขมันเป็นอย่างเดียวมักใช้ได้ผลดีและมี ข้อดีคือมีแผลเป็นมีขนาดเล็กมากการผ่าตัดทำโดยเปิดแผลบริเวณปานนมใต้ราวนม หรือบริเวณรักแร้แล้วแต่ตำแหน่งที่จะดูด ฉีดยาชาผสมสารละลายน้ำเกลือในตำแหน่งที่จะดูดแล้วใส่ท่อ เพื่อทำการดูดไขมัน
การดูดไขมันโดยการใช้อัลตร้าซาวด์ โดยหวังว่าใช้อัลตร้าซาวด์ละลายเนื้อเต้านมให้ดูดออกได้อาจได้ผลไม่ดีเท่า กับการผ่าตัดเอาก้อนออกโดยตรง
3. การใช้เทคนิคผสมผสานของการดูดไขมันและผ่าตัด
โดยทั่วไปแล้วคนที่มีก้อนที่เต้านมบางคนที่เป็นคนอ้วนหรืออายุมากจะมีไขมัน สะสมบริเวณหน้าอกและรอบเต้านม การผ่าตัดอย่างเดียวผลที่ได้หลังผ่าตัด อาจทำให้บริเวณก้อนบุ๋มลงไปกว่าบริเวณรอบๆ [saurcer] ในกรณีที่ตรวจพบว่ารอบๆก้อนเต้านมมีไขมันมากอาจทำการผ่าตัดดูดไขมันร่วมด้วย โดยเริ่มจากการดูดไขมันผ่านแผลใต้ปานนมบริเวณขอบนอกของเนื้อเต้านมก่อน แล้วทำการผ่าตัด เอาเนื้อนมออกหลังจากดูดไขมันแล้วโดยเอาเนื้อนมออกทางแผลเดียวกับที่ดูด ไขมัน
วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถลดไขมันที่หน้าอกได้ด้วย ทำให้ผิวหนังหน้าอกบางลงมีไขมันสะสมลดลงเห็นลักษณะกล้ามเนื้อชัดเจนขึ้นและ เห็นโครงสร้างหน้าอกของเพศชายชัดเจนขึ้นได้พอดีในคนที่เริ่มมีน้ำหนักเพิ่ม ขึ้นและเริ่มมีไขมันสะสม
4. เทคนิคการเปิดแผลขนาดเล็กร่วมกับการดูดไขมัน [Miniincision Liposuction]
เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้แผลผ่าตัดขนาดเล็ก ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีแผลเป็นที่ปานนมที่ใช้ตัดก้อนเต้านม มีขนาดเล็กลงกว่าวิธีการดั้งเดิมช่วยให้เพิ่มความมั่นใจเวลาถอดเสื้อเดินชาย หาดหรือว่ายน้ำ เนื่องจากไม่ต้องกังวลกับแผลเป็นขนาดใหญ่รูปครึ่งวงกลมที่อยู่รอบปานนม การผ่าตัดแบบนี้ต้องทำร่วมกับการดูดไขมัน เพื่อให้การดูดไขมันดูดเอาก้อน เนื้อเต้านมและไขมันส่วนใหญ่เหนือรอบๆ เต้านมออกให้มากที่สุดเพื่อให้เหลือเนื้อเต้านมน้อยที่สุดเพื่อที่จะได้ตัด ออกทำแผลผ่าตัดขนาดเล็กได้ง่าย
เทคนิคการผ่าตัด ทำโดยวิธีการดูดไขมันแบบมาตรฐาน โดยฉีดน้ำเกลือผสมอดินาลีนและยาชาผ่านแผลเปิดขนาดเล็ก ที่หนังรักแร้ที่ปานนมหรือขอบล่างของเต้านม โดยใช้เข็มฉีดน้ำเกลือขนาด 2 มม. ฉีดน้ำเกลือผสมอรีนาลีนและยาชา หลังจากนั้นใช้หัวดูดไขมันขนาดเล็ก (3 – 5 ม.ม.)ดูดไขมันบริเวณหน้าอกรอบเต้านม และเหนือเต้านมจนเหลือไขมันที่ค่อนข้างบางพอ ในระหว่างนั้นตรวจดูความหนาของไขมันเทียมกับหน้าอกอีกข้างหนึ่ง ถ้ามีการดูดไขมันด้านข้างของกล้ามเนื้อด้วยแพทย์จะดูดไขมันที่ขอบกล้ามเนื้อ มากกว่าไขมันที่กลางหน้าอก หลังจากดูดไขมันเสร็จแพทย์จะตรวจดูขนาดของก้อนที่เต้านมออกที่เหลืออยู่หลัง จากนั้นจะเปิดแผลเป็นเล็กๆที่ขอบล่างของปานนม แล้วทำการตัดเนื้อเต้านมแยกจากผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าอก โดยใช้กรรไกรขนาดเล็กตัดผ่านทางแผลขนาดเล็กจนก้อนเต้านมแยกออกจากผิวหนัง ทั้งหมดหลังจากเนื้อเต้านมถูกแยกจากผิวหนังและกล้ามเนื้อด้านล่างแพทย์จะแยก เต้านมออกเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้สามารถเอาออกผ่านแผลขนาดเล็กได้จนหมด
เนื่องจากเทคนิคที่เป็นเทคนิคที่ใช้เวลาผ่าตัด นานกว่าปกติและต้องมีขบวนการแบ่งก้อนเต้านมออกเป็นชิ้นเล็กๆดังนั้นผู้ที่จะ สามารถเลือกวิธีนี้ได้ จึงไม่ควรมีเต้านมขนาดใหญ่เกินไป ก้อนส่วนใหญ่เป็นไขมันมากกว่าก้อนเนื้อเต้านม และไม่ควรมีการหย่อนยานของเต้านม
เทคนิคนี้เหมาะในคนที่มีเต้านมขนาดเล็กโดยที่มีไขมันอยู่บ้างจะได้ผลดี เป็นวิธีที่มีแผลเป็นขนาดเล็ก ช่วยให้ไม่ต้องกังวลกับแผลเป็นขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นที่ปานนมหลังการผ่าตัด แบบอื่นนอกจากนั้นแล้วการดูดไขมันที่อยู่รอบๆก้อนเต้านมก็จะช่วยให้หน้าอก แบนราบลงด้วย
5. เทคนิคที่ต้องตัดผิวหนังเพิ่ม
ในกรณีที่หน้าอกหย่อนยานขึ้นอาจต้องพิจารณาว่าจะลองตัดก่อนออกก่อนอย่าง เดียวตามเทคนิคที่ 1 และรอเวลาประมาณ 9 เดือน ถึง 1 ปี แล้วดูว่าผิวหนังมีการหย่อนอยู่หรือไม่ถ้ายังหย่อนก็ค่อยตัดผิวหนังออก หรือจะตัดผิวหนังส่วนเกินออกเลยในการผ่าตัดครั้งแรก กรณีที่ต้องตัดผิวหนังเพิ่มอาจใช้เทคนิคต่างๆ ดังนี้
5ิb. เปิดแผลด้านข้างของปานนมเพิ่ม [Extended Semicircular] ในกรณีก่อนที่ต้องการตัดผิวหนังส่วนเกินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
5c. แผลใต้ราวนม [Inframammary] โดยตัดผิวหนังส่วน เกินและก้อนเต้านมทางแผลใต้ราวนมวิธีนี้จะไม่มีแผลที่ปานนมแต่หลังจาก ตัดแต่งผิวหนังหัวนมและปานนมจะอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำลงกว่าเดิมเทคนิคนี้จะใช้ ในกรณีที่หัวนมและปานนมยังอยู่สูงกว่าขอบล่างของเต้านม
5d. แผลรอบปานนม [Circular]ในกรณีที่มีการหย่อนคล้อยเล็กน้อยและต้องการตัดแต่งผิวหนังน้อยๆ เทคนิคนี้แผลเป็นจะเป็นจีบรอบปานนมแต่ไม่สามารถลดขนาดของปานนมได้มาก เพราะจีบรอบๆจะใหญ่เกินไปรอยจีบจะหายไปประมาณ 2-3 เดือน
5e. แผลเป็นตามขวาง [Transverse] ในกรณีที่ต้องตัดผิวหนังมากและต้องการลดขนาดปานนมด้วย
5f. แผลใต้ราวนมและย้ายปานนม ทำโดยทำแผลใต้ราวนมโดยเก็บเส้นเลือดบางส่วนไว้แล้วย้ายปานนมและหัวนมขึ้นไป เปิดด้านบนผิวหนังที่สูงกว่าตำแหน่งเดิมวิธีนี้สามารถลดขนาดของปานนมแต่ไม่ ลดขนาดหัวนม
5g. การทำกราฟ [Nipple Graft] กรณีที่เต้านมยานมากต้องตัดเต้านมออกทั้งหมดและเอาปานนมมาปะกราฟในตำแหน่งใหม่
5h. การตัดแต่งผิวหนังรูปตัวที ในกรณีที่เต้านมใหญ่มากและยานมากแต่ไม่ต้องการตัดเนื้อเต้านมออกทั้งหมด สามารถตัดแต่งผิวหนังเดียวกับการลดขนาดหน้าอกผู้หญิงได้
5i. การตัดผิวหนังทางด้านข้าง โดยในคนที่ผิวหนังยานมากและไม่ต้องการให้มีแผลเป็นด้านหน้าสามารถตัดผิวหนัง บริเวณใต้รักแร้ลงมาถึงด้านข้างมาเต้านมได้ ข้อเสียคือหัวนมและปานนมจะออกไปด้านข้างมากกว่าวิธีอื่น
5j. การตัดผิวหนังหลังการผ่าตัดครั้งแรกจะใช้เทคนิคตัดแผลทางใต้ราวนมเป็นหลัก
การเลือกเทคนิคแบบไหนควรพิจารณาความเหมาะสมและความต้องการโดยควรตัดสินใจก่อนวันผ่าตัด
- เกรด 1: อาจเป็นการตัดเต้านม ,ดูดไขมันหรือใช้ 2 วิธีร่วมกัน
- เกรด 2: การผ่าตัดอาจทำโดยการตัดเต้านมด้วยแผล a b หรือ c หรือตัดผิวหนังเพิ่มโดยการใช้การขยายแผลด้านข้าง 5b. โดยอาจร่วมกับการดูดไขมันหรือใช้การดูดไขมันอย่างเดียว
- เกรด 3: การผ่าตัดมักต้องตัดผิวหนังเพิ่มโดยในเทคนิคที่ 5 โดยอาจตัดผิวหนังตั้งแต่แรกหรือมาตัดภายหลัง [5j]โดย ทั่วไปจะพยายามพิจารณาทำผ่าตัดโดยผ่าตัดออกหรือดูดไขมันก่อนเนื่องจากแผล เป็นดีจะใช้วิธีการตัดแต่งผิวหนังในกรณีที่มีการหย่อนยานชัดเจน
หมายเหตุ
นอกจากการผ่าตัดลดขนาดปานนมแล้วบางครั้งในคนที่มีเต้านมเหมือนผู้หญิงมัก มีหัวนมที่มีขนาดใหญ่เหมือนผู้หญิงด้วย การผ่าตัดที่ต้องทำต่อเพื่อให้รูปร่างและสัดส่วนของหน้าอกดูดีขึ้น คือการลดขนาดหัวนม ถ้าลดขนาดหัวนมในกรณีนี้แตกต่างจากการลดขนาดหัวนมในผู้หญิง คือ มักต้องใช้เทคนิคที่มีการตัดท่อน้ำนมออกมากๆและเหลือเนื้อเยื่อที่จะทำเป็น หัวนมน้อยมากๆ เพราะส่วนใหญ่มักต้องการให้หัวนมเล็กมากและต่ำมาก
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
1. การผ่าตัดไม่ควรทำในคนที่อ้วนมากและวางแผนที่จะลดน้ำหนักต่อควรรอให้น้ำหนักลดก่อนแล้วค่อยมาผ่าตัด
2. หยุดสูบบุหรี่ 2 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด
3. เตรียมลาหยุดงานประมาณ 3 – 7 วันแล้วแต่เทคนิคการผ่าตัด
4. งดยาต้านการอักเสบ [Nsaid] เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
5. สำหรับผู้ที่จะวางยาสลบต้องงดน้ำงดอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
6. ผู้ที่มีความดันสูงต้องควบคุมให้ปกติก่อนผ่าตัด 2 อาทิตย์
7. Check-up เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เช่นโรคต่างๆหรือยา Estrogen ,ยาฆ่าเชื้อรา
8. กรณีที่มีน้ำหนักมากควรลดน้ำหนักก่อนผ่าตัด
9. ถ้าต้องตัดผิวหนังเพิ่มต้องวางแผลโดยวาดผิวหนังที่จะตัดในท่ายืนหรือนั่ง
ขั้นตอนการผ่าตัด
1. ฉีดยาชาหรือวางยาสลบตามที่ต้องลงกันไว้ก่อนผ่าตัด
2. ถ้าก้อนเต้านมประกอบด้วยไขมันเป็นส่วนใหญ่ทำการดูดไขมันเปิดแผลตำแหน่งที่จะ สอดท่อดูดไขมัน ฉีดน้ำผสมยาชาผสมอาดีนารีนและทำการดูดไขมันโดยใช้ท่อดูดไขมัน
3. ถ้าทำการผ่าตัดเอาออกก่อนทำการฉีดยาชา ไต้ปานนมและรอบๆก้อนเต้านม ลงแผลใต้ปานนม,ตัดก้อนออกและเย็บปิดแผล
4. กรณีที่ทำการผ่าตัดก้อนเต้านมร่วมกับการดูดไขมันจะทำการดูดไขมันก่อนแล้วจะ ตัดก้อนออกโดยผ่านแผลที่ปานนมทำการหยุดเลือดแล้วเย็บปิดแผล
5. ในกรณีที่เต้านมคล้อยเพราะผิวหนังเกินต้องทำการผ่าตัดผิวหนังส่วนเกินออกเพื่อให้ผิวหนัง
หน้าอกตึงขึ้นทำการตัดก้อนที่เต้านมตัดผิวหนังและเย็บปิดแผลให้ตึง
6. ถ้ามีการตัดผิวหนังเพิ่มหลังผ่าตัดอาจต้องใส่สายระบายน้ำเหลืองก่อนการเย็บแผล
7. หลังผ่าตัดใช้ผ้ายืดพันรอบหน้าอกเพื่อให้เลือดหยุด
การดูแลหลังผ่าตัด
1. ถ้าดมยาสลบต้องพักที่โรงพยาบาล 1 – 2 คืน แต่ถ้าฉีดยาชาสามารถกลับบ้านได้เลย
2. มีอาการบวมเขียวประมาณ 2 อาทิตย์
3. วันที่ 2 หลังผ่าตัดเปิดผ้าพันแผลออกใช้สำลีชุบน้ำเกลือเช็ดรอบแผลเช้า-เย็น ทาแผลด้วย
ยาแก้อักเสบชนิดทา ถ้ามีสายระบายน้ำเหลืองจะเอาออกในวันที่ 2 – 3 หลังผ่าตัด
4. แพทย์จะตัดไหมประมาณ 7 วัน
5. เพื่อไม่ให้เลือดออกมากและลดอาการบวมอาจต้องใช้ผ้ารัดรอบหน้าอกประมาณ 1-2 อาทิตย์ และรัดเฉพาะเวลากลางคืนต่ออีก 1-2 อาทิตย์
6. ถ้าเต้านมเดิมมีขนาดใหญ่มากอาจมีผิวหนังเกินเกิดรอยย่นรอบๆแผลผ่าตัดโดยทั่วไปรอยย่น ,จีบ จะดีขึ้นหลังผ่าตัดไปแล้ว 2 – 3 เดือน
7. วันแรกหลังผ่าตัดสามารถเดินไปมาและทำกิจกรรมปกติได้
8. งดการร่วมเพศ 1 – 2 อาทิตย์
9. งดออกกำลังกายหนักๆกีฬา ที่มีการปะทะประมาณ 4 อาทิตย์
10. วันที่ 3 สามารถทำงานตามปกติได้
11. ระวังแผลผ่าตัดถูกแดดประมาณ 4 – 6 เดือน (อาจใช้ครีมกันแดดทาแผลขณะที่แดดออก)
12. แผลเป็นและอาการบวมจะหายปกติในเวลา 3 เดือน
13. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายตามปกติ หรือยกของหนักประมาณ 6 อาทิตย์
14. ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติให้แจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน
15. หลังผ่าตัดเต้านม ด้านซ้ายและขวาอาจมีความแตกต่างกันได้บ้าง