การดูดไขมันเพื่อสร้างรูปร่างกล้ามเนื้อหน้าท้อง

Sixpack เป็นคำที่ใช้เรียกลักษณะของกล้ามเนื้อหน้าท้อง [ ABS ] ของผู้ชายที่มีการออกกำลังกายหน้าท้องสม่ำเสมอจนได้รูปร่างที่สวยงาม ลักษณะของกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ดูดี มีลักษณะแข็งแรง แบนราบ มีขอบเขตของกล้ามเนื้อชัดเจนและมีความโค้งขึ้นลงเป็นคลื่น โดยที่มีการสะสมไขมันด้านข้างน้อย แต่การที่จะทำให้ได้กล้ามเนื้อ แบบนี้จำเป็นต้องออกกำลังกายทุกวันและต้องทำอย่าสม่ำเสมอเพื่อให้ไดกล้ามเนื้อเป็นลอนๆ 3 ลอน แต่ละข้างนี้เรียกว่า Sixpack

การผ่าตัดสร้างเสริมกล้ามเนื้อหน้าท้องโดยการดูดไขมันเป็น การประยุกต์ เทคนิคการดูดไขมันมาใช้สร้างรูปร่างของกล้ามเนื้อให้ดูเหมือนหน้าท้องของนักกีฬา โดยมีจุดมุ่งหมายให้หน้าท้องแบนราบมีขอบเขตและรูปร่างของกล้ามเนื้อเป็นลอนชัดเจนและดูแข็งแรงเหมือนกับกล้ามเนื้อคนที่ออกกำลังกายหน้าท้องเป็นประจำ การผ่าตัดชนิดนี้ไม่ได้เป็นการผ่าตัดลดน้ำหนัก แต่เป็นการจัดรูปร่างของไขมันบริเวณหนังหน้าท้อง ให้มีรูปร่างเหมือนกับกล้ามเนื้อ โดยเน้นที่กล้ามเนื้อแนวยาวตรงกลางของหน้าท้อง [Rectus Abdominis ,ABS] โดยการผ่าตัดจะมีการจัดไขมันให้เหมือนกับรูปร่างของกล้ามเนื้อมัดนี้ โดยอาจทำการดูดไขมันด้านข้างหรือด้านล่างของหน้าท้องร่วมด้วยเพื่อช่วยให้ภาพรวมของหน้าท้องดูดีขึ้น

กล้ามเนื้อแนวกลางของหน้าท้อง [Rectus Abdominis] มีลักษณะเป็นลอน 3 – 4 ลอนแล้วแต่คนระหว่างลอนจะมีส่วนที่เป็นพังพืด ระหว่างกล้ามเนื้อซึ่งจะแบ่งกล้ามเนื้อเป็น 4  ส่วน ทำให้เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อเป็นคลื่นเวลาที่มีการเกร็งกล้ามเนื้อ ทำให้มีศัพท์ที่เรียกกันว่า Sixpack ลักษณะเป็นลอน Sixpack นี้ เป็นลักษณะที่ผู้ชายที่ออกกำลังกายต้องการให้เกิดเพราะทำให้รูปร่างดูดีโดยเฉพาะเวลาที่ต้องถอดเสื้อว่ายน้ำหรือไปเที่ยวชายทะเลโดยทั่วไปกล้ามเนื้อมัดนี้จะวางคู่กัน 2 ข้าง ซ้ายและขวา โดยมีร่องลึกตรงกลางเรียกว่า Liner alba ตำแหน่งนี้จะเป็นร่องที่ลึกมากอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อ 2 มัดในแนวกลางระหว่าง ลิ้นปี่ ผ่านสะดือจนถึงกระดูกหัวเหน่า

สำหรับขอบข้างของกล้ามเนื้อแนวยาวนี้ จะมีร่องที่เป็นรอยต่อกับกล้ามเนื้อหน้าท้องด้านข้างโดยจะมีร่องที่แสดง ขอบด้านข้างของกล้ามเนื้อเรียกว่า Liner semilunaris ตามแนวยาวของกล้ามเนื้อจะมีเอ็นซึ่งจะแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็นลอนๆ โดยจะทำให้เกิดร่องระหว่างแนวยาวของกล้ามเนื้อทำให้เวลาเกร็งกล้ามเนื้อจะเกิดลักษณะเป็นปล้องๆโดยทั่วๆ ไปเอ็นที่แบ่งกล้ามเนื้อจะมีข้างละ 3 จุดโดยจะอยู่ที่ตำแหน่งเหนือตัวสะดือหรือตั้งแต่สะดือขึ้นไปในความเป็นจริงเอ็นแต่ละข้าง [3จุด] จะแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น  4 ปล้องถ้ารวม 2 ข้างก็จะเป็น 8 ปล้อง แต่เนื่องจากมัดกล้ามเนื้อด้านล่างสุดที่อยู่ใต้สะดือลงไปเป็นปล้องใหญ่ ทำให้มองเห็นเป็นลอนไม่ชัดเจน หรือบางทีลอนที่อยู่เหนือลิ้นปี่ ก็มองเห็นไม่ชัด คนทั่วๆ ไปจึงเห็นแต่ลอนกล้ามเนื้อเป็น 6 ลอน (รวม 2 ข้าง) จึงเรียกว่า sixpack

การผ่าตัดสร้างกล้ามเนื้อโดยการดูดไขมันเป็นการดูดไขมันเฉพาะที่ตามแนวที่จะต้องมีร่องธรรมชาติตามขวางของกล้ามเนื้อยาวกลางหน้าท้อง ทำให้เกิดเป็นลอนๆ 3 ลอนเหมือนกับส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อปกติและดูดไขมันในแนวกลางหน้าท้องระหว่างกล้ามเนื้อ 2 มัด รวมทั้งไขมันด้านข้างทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้เห็นกล้ามเนื้อชัดเจน [Linea Semilunaris] อนึ่งในคนบางคนอาจแนะนำให้ดูดไขมันบริเวณ เอว ถ้ามีไขมันสะสมมากก็จะทำให้รูปร่างดูดีขึ้นมาก

เทคนิคการผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดเฉพาะส่วนไขมันผิวๆก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อทำให้ไม่ต้องพักฟื้นนาน แผลเป็นที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กอยู่ที่สะดือและร่องด้านข้างมองเห็นไม่ชัดมีการยุบบวมช้าโดยร่องที่ดูดไขมันจะยุบลงช้าๆ ทำให้คนรอบข้าง ไม่สังเกตุการเปลี่ยนแปลงจึงไม่รู้ว่าผ่าตัดมา

เนื่องจากการผ่าตัดเป็นเพียงแค่การดูดไขมันเฉพาะที่บางส่วน ดังนั้นไม่ใช่ว่าทุกคนทำจะได้ผลดี คนที่เหมาะจะผ่าตัดดูดไขมันแบบนี้ ต้องไม่อ้วนมากเกินไปโดยอาจพิจารณาทำในกลุ่มต่างๆ ดังนี้

1. น้ำหนักค่อนข้างปกติโดยที่มีไขมันสะสมด้านข้างและเหนือกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยที่ไม่สามารถลดได้โดยการคุมอาหารหรือออกกำลังกาย
     
2. มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์มาก แต่ยังมีไขมันเล็กน้อยที่หน้าท้องเป็นกลุ่มที่ได้ผลดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปี
     
3. ผู้ที่ออกกำลังกาย หน้าท้องหรือเพาะกาย ซึ่งะมีลักษณะของ Sixpack อยู่แล้ว การผ่าตัดช่วยให้ลักษณะของกล้ามเนื้อเด่นชัดขึ้น
     
4. ผู้ชายที่เคยผ่าตัด ดูดไขมันหรือตัดไขมันหน้าท้องมาแล้วแต่ยังมีรูปร่างไม่สวยงาม

การผ่าตัดชนิดนี้ไม่เหมาะสมกับคนที่อ้วนมากหรือมีผิวหน้าท้องหย่อนยานหรือไม่เคยออกกำลังกาย และไม่มีรูปร่างของกล้ามเนื้อหน้าท้องให้เห็นเลย

เทคนิคการผ่าตัด

นื่องจากการผ่าตัดมักทำเพื่อให้รูปร่างหน้าท้องสวยงาม จึงอาจทำร่วมกับการผ่าตัดอื่นๆ เพิ่มเพื่อให้รูปร่างโดยรวมดูดี ได้แก่

  1. การผ่าตัดไขมันขอบกล้ามเนื้อหน้าอก [Pectoral Etching] เนื่องจากส่วนบนของหน้าท้องก็เป็นขอบล่างของกล้ามเนื้อหน้าอก ในบางคนที่มีรูปร่าง กล้ามเนื้อหน้าอกไม่ชัดอาจพิจารณาดูดไขมันไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกและหน้าท้องดูแข็งแรงทั้งคู่
  2. การดูดไขมันที่เอวและหลัง [Love-Handle , Back] ในบางคนมีการสะสมไขมันด้านข้างของหน้าท้องทำให้เวลามองด้านหน้าจะมีลักษณะส่วนเอวป่องออก การดูดไขมันที่เอวด้วยก็จะช่วยให้รูปร่างหน้าท้องดีขึ้นหรือในบางรายจะมีไขมันที่หลังนูนชัดก็อาจจำเป็นต้องดูดไขมันที่หลังไปด้วยก็จะช่วยให้รูปร่างหน้าท้องดูดีทั้งเวลาที่มองด้านหน้า ,ด้านข้าง, และด้านหลัง
  3. ถ้ากล้ามเนื้อที่ด้านหน้าท้อง มัดเล็กและไม่เด่นหรือมีไขมันหน้าท้องน้อยอาจต้องทำการฉีดไขมันที่ดูดออกมาบางส่วน ที่เป็นผิวหนังหรือกล้ามเนื้อบนส่วนลอนของกล้ามเนื้อเพื่อให้รูปร่างของกล้ามเนื้อชัดเจนขึ้น ในบางคนที่มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องส่วนล่างตำแหน่งใต้สะดือลงไปมากถ้ามีความหนาของไขมันมากอาจพิจารณาดูดไขมัน โดยที่จะดูดไขมันที่เหนือกล้ามเนื้อไปเลย เพื่อให้หน้าท้องส่วนนี้ แบนราบโดยจะเหลือไขมันที่อยู่ตำแหน่ง บนสุดใกล้กับสะดือ เพื่อให้มีลักษณะรูปร่างของลอนกล้ามเนื้อลอนสุดท้าย

การปรึกษาก่อนผ่าตัด

  1. ลักษณะหน้าท้องเหมาะสมที่จะผ่าตัดหรือไม่จะได้ผลดีหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วคนที่ได้ผลดีมากจะเป็นกลุ่มที่ออกกำลังกายมาบ้างและอายุน้อย แต่ในคนที่แข็งแรงและมีกล้ามเนื้อบ้างแม้จะมีอายุมากก็สามารถทำได้
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น ความดันสูงหรือเบาหวานควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการผ่าตัด
  3. พิจารณาว่าจะต้องดูดไขมันขอบกล้ามเนื้อหน้าอกด้วยหรือไม่
  4. ต้องดูดไขมันที่เอวหรือหลังด้วยหรือไม่
  5. วางแผนวาดรูปคร่าวๆ ถึงตำแหน่งที่จะดูดไขมัน ตำแหน่งที่ไม่ต้องการดูดไขมัน
  6. วางแผนการใช้ระงับความรู้สึกว่าจะใช้การดมยาสลบหรือการฉีดยาชาร่วมกันกับให้ยานอนหลับ
  7. ในคนที่ผอมมากและมีกล้ามเนื้อมัดเล็ก ควรดุด้วยว่าต้องฉีดไขมัน บนผิวหนังระหว่างร่องที่จะทำหรือไม่

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. ควรปรึกษาแพทย์ ถึงตำแหน่งที่จะดูดไขมันก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 1 อาทิตย์
  2. แจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัว เช่นความดันโลหิตสูง ,เบาหวาน ,หอบหืด
  3. งดยาที่ทำให้เลือดหยุดช้าเช่น แอสไพริน บูรา ปวดหา ทัมใจ 2 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัด
  4. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดในเช้าวันผ่าตัด
  5. งดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  6. ถ้าความดันสูงควรควบคุมความดันให้อยู่ต่ำกว่า 140/90 mm Hg (มิลลิเมตร ปรอท)
  7. เนื่องจากการผ่าตัดทำให้เสียเลือดบางส่วน
  8. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรดูดไขมันปริมาณมากๆ เนื่องจากการผ่าตัดทำให้เสียเลือดมาก
  9. ทำให้มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตได้
  10. เตรียมตัวหยุดงานประมาณ 2 วัน
  11. งดบุหรี่ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด
  12. เตรียมโกนขนหน้าท้องหรือหน้าอกในเช้าวันผ่าตัด
  13. ควรมีเพื่อนมา พากลับบ้านหลังผ่าตัด
  14. ไม่ควรนำสิ่งของมีค่ามาโรงพยาบาล ควรเก็บไว้ที่บ้าน

ขั้นตอนการผ่าตัด

  1. ก่อนการผ่าตัดแพทย์จะวาดรูป ตำแหน่งที่จะดูดไขมันในท่ายืน โดยเป็นที่ตำแหน่งที่จะทำการดูดไขมันให้เกิดร่องของกล้ามเนื้อ โดยจะทำการกำหนดตำแหน่งที่จะทำให้เกิดร่องตรงกลาง [Linealba] ขอบด้านข้างของกล้ามเนื้อและร่องตามขวาง 2-4 ร่อง และถ้าต้องดูดที่บริเวณเอวก็จะวาดรูปไว้ก่อนผ่าตัด
  2. การผ่าตัดทำโดยการดมยาสลบหรือการใช้ยาชาเฉพาะที่ ร่วมกับยานอนหลับ
  3. แพทย์จะเปิดแผลเล็กๆ 0.5 ซ.ม.ที่หน้าท้อง ส่วนล่าง สะดือ และบริเวณด้านข้างของหน้าท้องในตำแหน่งที่จะทำร่องของกล้ามเนื้อ
  4. ใช้เข็มฉีดน้ำเกลือผสมยาชา และยาหยุดเลือดผ่านแผลที่เปิด
  5. ใช้ท่อดูดไขมัน ดูดไขมันในตำแหน่งที่วางแผนไว้โดยจะทำการดูดไขมัน ค่อนข้างมาก โดยจะดูดจนเหลือไขมันให้ผิวหนังน้อยมาก นอกจากนั้นแล้วจะดูดไขมันรอบๆ สะดือออกมากกว่า การดูดไขมันปกติ เพื่อให้ร่องกลางชัดเจน
  6. ในคนที่มีกล้ามเนื้อมัดเล็กมากๆและดูไม่เด่นชัดอาจต้องฉีดไขมันบนรอยนูนระหว่างร่องของกล้ามเนื้อ
  7. ในบางคนอาจต้องดูดไขมันบริเวณหน้าท้องส่วนล่างเพื่อให้รูปร่างดีขึ้นมาก
  8. ถ้าต้องดูดไขมันด้านข้างและหลังอาจต้องเปิดแผลเพิ่มอีกข้างละ 1 แผล
  9. หลังจากดูดไขมันเสร็จจะวางแผ่นโฟมหรือสำลีบนร่องที่ดูดไขมันและปิดเทปไว้เพื่อให้เกิดร่องถาวรแล้วจะพัน ผ้ารัดหน้าท้องทับบนแผ่นโฟมหรือสำลีอีกทีแนะนำให้ปิดแผ่นโฟมหรือสำลีไว้ประมาณ 2 อาทิตย์หลังผ่าตัด เพื่อกดให้ร่องที่ทำมีความชัดเจน

การดูแลหลังการผ่าตัด

  1. หลังผ่าตัดพักที่โรงพยาบาล 1 วัน
  2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 3 อาทิตย์ หลังผ่าตัดเพราะจะทำให้เกิดน้ำเหลืองค้างในแผลผ่าตัดได้
  3. งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 อาทิตย์ หลังผ่าตัดเพราะบุหรี่ทำให้แผลหายช้า
  4. รับประทานยาตามแพทย์สั่งไม่ควรทานยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน
  5. วันรุ่งขึ้นแพทย์ จะทำการเปิดแผล เปลี่ยนผ้าพันแผล แต่แผ่นโฟมที่ปิดบริเวณร่องที่ดูดไขมันให้ปิดไว้ต่ออีก 1 อาทิตย์
  6. นัดตัดไหม (ถ้าเย็บแผล) ประมาณ 5 – 7 วัน หลังผ่าตัด
  7. ใส่ผ้ารัดหน้าท้องไว้ตลอดเวลาอย่างน้อย 3 – 6 อาทิตย์ สามารถถอดออกเวลาอาบน้ำแล้วใส่ใหม่
  8. หลังผ่าตัดงดการยกของหนักมากกว่า 5 กิโลกรัม
  9. อาจมีการปวดบวมมักจะไม่รุนแรงมาก สามารถบรรเทาโดยใช้ยารับประทาน
  10. ระวังอย่าวางของหนักบนหน้าท้อง
  11. สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติได้ใน 1 – 2 อาทิตย์
  12. ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 3 – 5 วัน
  13. สามารถกลับไปทำงานได้ใน 1 อาทิตย์
  14. งดออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้องหรือยกของหนัก 1-3อาทิตย์
  15. จะเข้าที่เห็นรูปร่างและผลการผ่าตัดชัดเจน เมื่อเวลา 6 เดือนหลังผ่าตัด แต่ในคนที่สวมผ้ารัดหน้าท้อง เป็นประจำหรือใส่เสื้อผ้ารัดรูปจะเห็นผลการผ่าตัดเร็วกว่า 6 เดือน
  16. แผลเป็นจะมีขนาดเล็ก (0.5 – 1ซ.ม.) บางส่วนจะซ่อนในช่องกล้ามเนื้อ และอยู่ใต้ขนหน้าท้องทำให้มองเห็นไม่ชัด
  17. ถ้ามีปัญหาเลือดออกมากหรือมีแผลบวมแดงอักเสบ ให้รีบติดต่อแพทย์ทันที